เดือน พฤษภาคม 2565
- หมวด: กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 145
- เผยแพร่เมื่อ: วันศุกร์, 29 เมษายน 2565 02:47
- เขียนโดย Super User
- ฮิต: 2465
ข้าราชการตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
วิสัยทัศน์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
เป็นองค์กรบังคับใช้กฎหมายที่ประชาชนเชื่อมั่นศรัทธา
ค่านิยม : COPS
สมรรถนะ (Competency)
สุจริตเป็นธรรม (Overall Fairness)
ประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People Oriented)
บริการด้วยใจ (Service Mind)
วัฒนธรรมองค์กร
ยึดมั่นในระเบียบวินัย บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชน และมีการทำงานเป็นทีม
ผลสัมฤทธิ์หน่วยงาน
ประชาชนมีความเชื่อมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ สังคมและประเทศชาติมีความมั่นคง และสนับสนุนการพัฒนาประเทศ
พันธกิจ
1) ถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
2) บังคับใช้กฎหมายและอำนวยความยุติธรรมทางอาญา
3) รักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงของราชอาณาจักร
วิสัยทัศน์ของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
วิสัยทัศน์ “เป็นหลักประกันความยุติธรรม และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่มีมาตรฐานสากล”
๖ พฤษภาคม ๖๙ปึ วันสถาปนากองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
ตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) (Border Patrol Police) เป็น ตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อเป็นกำลังเสริม แทนการใช้กำลังทหาร ในรักษาความสงบตามแนวตะเข็บชายแดน อันเนื่องจากสนธิสัญญากรุงเจนีวาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสกำหนดห้ามไม่ให้มีกำลังทหารในระยะ 25 กิโลเมตรจากแนวชายแดน จุดประสงค์หลักในการจัดตั้ง ตชด.ในช่วงแรกคือป้องกันกองกำลังคอมมิวนิสต์ที่เข้ามารุกรานในประเทศ ในปัจจุบัน ตชด. มีหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดที่เข้ามาในประเทศไทยโดยเฉพาะยาบ้า
ประวัติ
ช่วงที่ 1
หลังสงครามโลกครั้งที่สองได้ยุติลงในปี พ.ศ. 2488 ประเทศอาณานิคมที่เคยเป็นเมืองขึ้นมาเป็นเวลานานหลายประเทศ ก็ได้รับเอกราชคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบก็ได้รับเอกราชใหม่ทุกประเทศได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย แม้ประเทศเหล่านี้จะได้รับเอกราชสมบูรณ์ แล้วก็ตาม แต่ความสงบสุขของบ้านเมืองในแถบนี้ยังห่างไกลจากความเป็นจริง ทั้งนี้เกิดจากความยุ่งยากทางการเมืองภายในจาก การชิงอำนาจของนักการเมืองที่มีความคิดเห็นยุ่งยากทางการเมืองภายใน จากการชิงอำนาจของนักการเมืองที่มีความคิดเห็นในนโยบายการปกครองแตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยุ่งยากอันเกิดจากการเมืองภายนอกที่ประเทศคอมมิวนิสต์ และบริวารพยายามแผ่ขยายอิทธิพลเข้ามาสู่ภูมิภาคของโลกส่วนนี้ให้อยู่ในอุ้งมือให้จึงได้ ทั้งได้พยายามดำเนินการทั้งมวลที่จะให้ประชาชนของประเทศเหล่านั้นจับอาวุธเข้าต่อสู้รัฐบาลของตนและประชาชนที่เป็นชาติเดียวกันเองหนักมือยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นชนวนแห่งความยุ่งยาก และก่อให้เกิดเหตุร้ายในส่วนนี้ของโลกตราบเท่าทุกวันนี้
ช่วงที่ 2
ประเทศไทยได้เข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2484 และ สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 ซึ่งได้รับความบอบซ้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ เศรษฐกิจและการทหารก็นับว่าอยู่ในระยะที่จะต้องปรับปรุงทั้งสิ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2494 ปรากฏว่าสถานการณ์รอบ ๆ ประเทศไทยและในภาคพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เริ่มตั้งเค้าแห่งความไม่สงบขึ้น เพราะการใช้สงครามบ่อนทำลายของฝ่ายคอมมิวนิสต์มีสิ่งบอกเหตุว่าภยันตรายอาจจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยได้ ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยสู้รบระหว่างฝ่ายเวียตมินต์หรือฝ่ายเวียดนามคอมมิวนิสต์กับฝรั่งเศสมีการแทรกซึมของฝ่ายเวียตมินห์เข้าสู่ประเทศลาวและประเทศเขมร ประเทศไทยอยู่ในฐานะที่ถูกคุกคามได้ตลอดเวลา ทางด้านภาคเหนือของประเทศไทยได้มีการสู้รบกับระหว่างกองทัพของประเทศพม่ากับกองทหารจีนชาติ(ก๊กมินตั๋ง) ที่ถูกคอมมิวนิสต์ตีถอยร่นลงมาทางใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 และได้เข้าอยู่ในพื้นที่ของบ้านตูมและบ้านญวนในเขตแดนพม่าตรงข้ามกับอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่อื่น ๆ ตรงข้ามกับจังหวัดเชียงรายและแม่ฮ่องสอน นอกจากนั้นกองทัพพม่ายังต่อสู้กับกะเหรี่ยงและไทยใหญ่ ที่เรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเอง ซึ่งอยู่ติดกับทางทิศตะวันตกและทิศเหนือของไทยอีกด้วยทางด้านภาคใต้โจรจีนคอมมิวนิสต์ได้ใช้พื้นที่บริเวณชายแดนไทย - มาเลเซีย เป็นฐานทำการต่อสู้กับรัฐบาลของอังกฤษและรัฐบาลมาเลเซีย ประเทศไทยจึงอยู่ในภาวะที่จะต้องระมัดระวังอย่างยิ่งเพราะภัยที่ยังมองไม่เห็นกำลังคุกคามประเทศรอบด้านในขณะที่เหตุการณ์ภายนอกประเทศมีแนวโน้มซึ่งแสดงการคุกคามต่อประเทศไทยขณะเดียวกันเหตุการณ์ภายในประเทศก็เกิดขึ้นอีกโดยปฏิกิริยาของชาวญวนอพยพในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเช่น จังหวัดหนองคาย และจังหวัดอุบลราชธานี
ช่วงที่ 3
รัฐบาลและกรมตำรวจ ได้ร่วมกันพิจารณาภาวะการทางการเมืองดังกล่าวข้างต้น และพิจารณาหาหนทางในการป้องกันที่จะมิให้เกิดความเสียหายต่อความสงบสุขและความมั่นคงปลอดภัยของชาติและได้พิจารณาว่าหากจะใช้ตำรวจภูธรซึ่งงานในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมก็ล้นมืออยู่แล้วเพราะในขณะที่ศีลธรรมและขวัญของประชาชนเสื่อมและตกต่ำอย่างมากในระยะสงครามและ ยิ่งต่ำลงเมื่อสงครามเลิกแล้วส่วนการพิจารณาที่จะใช้กำลังทางทหารป้องกันและต่อสู้กับการคุกคามของคอมมิวนิสต์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ในขณะนั้นจะมีผลกระทบกระเทือนต่อสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างประเทศอย่างไรหรือไม่ เพราะประเทศรอบบ้านเราต่างก็มีประวัติศาสตร์ที่เคยสู้รบแย่งชิงอำนาจกันมาก โดยตลอดและการใช้กำลังทหารในขณะนั้นจะได้ผลคุ้มค่าทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและเป็นการประหยัดหรือไม่เพราะเป็นการใช้ภารกิจด้านเดียวเพราะไม่สามารถเข้าทำการปราบอาชญากรรมหรือให้การบริการแก่ประชาชนได้เหมือนข้าราชการตำรวจและพลเรือน ปัญหาก็คือจะใช้หน่วยงานอะไรจึงจะใช้ทำงานได้ผล รัฐบาลและกรมตำรวจจึงได้พิจารณาตกลงใจว่าจะต้องจัดตั้งหน่วยงานขึ้น และต้องเป็นหน่วยงานที่มีลักษณะเป็นทั้ง ทหาร ตำรวจ และพลเรือน เมื่อไม่รบก็ต้องปราบปรามอาชญากรรม และในขณะเดียวกันก็ต้องบริการประชาชนได้หน่วยงานนั้นนอกจากจะเป็นผลต่อความมั่นคงปลอดภัย และรักษาความสงบตามชายแดน แล้วยังควรที่จะสามารถดำเนินการตามนโยบายของทุกกระทรวง ทบวง กรม อีกด้วย หรืออาจกล่าวโดยสรุป ก็คือว่าหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นนั้นจะต้องมีคุณลักษณะ 3 ประการ
ช่วงที่ 4
แนวความคิดของรัฐบาลและกรมตำรวจในการจัดตั้ง ตชด. ก็เพื่อเสริมกำลังตำรวจภูธรในการรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนและป้องกันการรุกรานของคอมมิวนิสต์ ประหยัดการใช้กำลังทางทหารในยามปกติรักษาสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้านฝึกกำลังตำรวจเพื่อทำหน้าที่คล้ายทหาร และกำลังแบบทหารฝึกกำลังให้กับประเทศใกล้เคียง ในการต่อต้านคอมมิวนิสต์วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งตำรวจตระเวนชายแดนเป็นการเตรียมกำลังตำรวจให้พร้อม เพื่อจะปฏิบัติการต่อต้านการรบนอกแบบโดยเฉพาะการรบแบบกองโจรเป็นการเตรียมกำลังตำรวจ ให้พร้อมที่จะสนับสนุนการปฏิบัติการของกองทัพอื่น ๆ ได้ทันที ถ้าสงครามเกิดขึ้นทำการคุ้มครองพื้นที่ของประเทศที่เป็นป่าเขาทั่วไปที่การคมนาคมทุกชนิดเข้าไปไม่ถึงด้วยการเดินเท้า หรือโดยการส่งลงทางอากาศทำการปราบปรามโจรผู้ร้ายที่ใช้รอยต่อของจังหวัดและของประเทศเป็นที่ซุกซ่อนกับการสกัดกั้นการลักลอบลำเลียงของหนีภาษี และยาเสพติดเมื่อไม่มีเหตุการณ์ สามารถพัฒนาสร้างสรรค์ให้เกิดการกินดีอยู่ดีแก่ประชาชน
การที่จะมอบหมายให้หน่วยทหารที่มีอยู่ในขณะนั้น ปฏิบัติหน้าที่ในบริเวณแนวชายแดนก็ขัดต่อสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสที่ระบุห้ามมิให้นำกำลังทหารไปวางไว้ ในระยะ 25 กิโลเมตร จากแนวแบ่งเขตชายแดน ไทย - ลาว และกัมพูชา และหากจะพิจารณาใช้กำลังตำรวจภูธรเข้าปฏิบัติภารกิจดังกล่าวตำรวจภูธรก็มีภารกิจหน้าที่ในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและการรักษาความสงบเรียบร้อย และการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจนไม่มีกำลังเพียงพอที่จะปฏิบัติหน้าที่ในบริเวณแนวชายแดนได้ ในที่สุด รัฐบาลก็ได้พิจารณาจัดตั้งหน่วยกำลัง "ตำรวจตระเวนชายแดน" ขึ้นในปี พ.ศ. 2494 โดยกำหนดให้หน่วยจะต้องมีคุณลักษณะ 3 ประการ ดังนี้
- สามารถทำการรบได้อย่างทหาร
- สามารถป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมได้อย่างตำรวจ
- สามารถดำเนินการพัฒนาและช่วยเหลือประชาชนได้เช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน
รปภ.และอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ที่มาท่องเที่ยวน้ำตกป่าละอู ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
๒๘-๒๙ พ.ค.๖๕ ร.ต.ต.สมรรถชัยพันดอน รรท.ผบ.มว.ตชด.๑๔๕๓ มอบหมายให้ ส.ต.ท.พงษ์ฐกร นาคใหม่ พร้อมพวกรวม ๓ นาย เดินทางไป รักษาความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยว , เฝ้าระวังป้องกันการกระทำผิดและสิ่งของผิดกฎหมาย ณ น้ำตกป่าละอู ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
๑๕ พ.ค. ๒๕๖๕ ร.ต.ต.นเรศ ผิวผุด รอง สว.(ป)ฯ รรท.ผบ.มว.ตชด.๑๔๕๒ มอบหมายให้ ส.ต.อ.ชัยสิทธิ์ สุมิตร ผบ.หมู่ มว.ตชด.๑๔๕๒ พร้อมพวกรวม ๓ นาย ออกลาดตระเวนและพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ บ้านย่านซื่อ หมู่ ๙ ต.หาดขาม อ.กุยบุรี จว.ประจวบฯ รวมถึงแจกจ่ายยาให้กับประชาชน และป้องกัน/ปราบปรามอาชญากรรม การลักลอบนำเข้ายาเสพติด การค้าสิ่งผิดกฎหมาย การบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักรของบุคคลต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง เฝ้าระวังตรวจสอบบุคคลที่อาจ ติดเชื้อไวรัสโควิด ๑๙ ลักลอบเข้ามาทางช่องทางธรรมชาติ รณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด ๑๙ ประชาสัมพันธ์หน่วย
๑๕ เม.ย.๖๕ พ.ต.ต.วิเชียร พุทธอินทร์ศร ผบ.ร้อย ตชด.๑๔๕ มอบหมายให้ ร.ต.ต.สมรรถชัย พันดอน รรท.ผบ.มว.ตชด.๑๔๕๓ นำกำลังพล มว.ตชด.๑๔๕๓ ร่วมกันติดตั้งป้ายบริเวณวัด รปภ.อำนวยความสะดวกให้ผู้มาทำบุญ ณ วัดกำแพงแลง ต.ท่าราบ อ.เมือง จ.เพชรบุรี
รักษาความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยว , เฝ้าระวังป้องกันการกระทำผิดและสิ่งของผิดกฎหมาย ณ น้ำตกป่าละอู ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
2475 Untold History : ประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้เล่า EP.1 เบื้องแรกประชาธิปไตย
หากพูดถึง “การปกครองระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย” เกือบทุกคนอาจนึกถึงปี พ.ศ. 2475 ที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร . แต่แท้จริงแล้ว การวางรากฐานเพื่อเปลี่ยนแปลง ไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย กลับมาจากผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือพระมหากษัตริย์นั่นเอง โดยการวางรากฐาน ในการเสริมความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยแก่ประชาชน ก่อนปีแห่งการเปลี่ยนแปลง 2475 อยู่เกือบครึ่งศตวรรษ
https://www.youtube.com/watch?v=KH04PCBuGNI&ab_channel=SmartSoldiersStrongArmy
แหล่งข้อมูล .
หนังสือ ก่อนประชาธิปไตยจะมาถึง ประวัติศาสตร์และการเมืองสมัยรัชกาลที่ ๔- ๗ ที่มาที่ไปของประชาธิปไตยก่อนปิดฉากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดย ชาดา นันทวัฒน์ .
หนังสือ ถอดรหัส ภาพผนัง พระจอมเกล้า-ขรัวอินโข่ง งานสร้างสรรค์ศิลปกรรมชิ้นสำคัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดย วิไลรัตน์ ยังรอต และธวัชชัย องค์วุฒิเวทย์ .
หนังสือ สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น ประวัติศาสตร์เปลี่ยนแปลงปกครอง ๒๔๗๕ โดย ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล .
หนังสือ พระราชวงศ์จักรี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็นสมัยรัชกาลที่ ๖ โดย ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล .
หนังสือ ราชสำนักรัชกาลที่ ๖ โดย วรชาติ มีชูบท . รายการเพลินภาษา ๕ นาที ออกอากาศวันศุกร์ที่ ๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๑ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ตอน สมาคมครึ . หนังสือ ริ้วรอย...กบฏ แห่งสยามประเทศ โดย ประเทือง โพธิ์ชะออน .
หนังสือ กบฏ ร.ศ. ๑๓๐ โดย เพลิง ภูผา .
หนังสือ สยามกับมหาสงครามโลกครั้งที่ 1 ประวัติศาสตร์สากล โดย สเตฟาน เฮลล์ .
หนังสือ ประวัติและผลงานของชาวต่างชาติในประเทศไทย เล่ม ๓ โดย กรมศิลปากร พิมพ์เผยแพร่ พุทธศักราช ๒๕๕๘ .
#ปฏิวัติ2475 #คณะราษฎร #ประชาธิปไตย #อภิวัฒน์สยาม
กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ขอเชิญทุกท่าน
เชิญสัมผัสรสชาติ #กาแฟดอยสามหมื่น
ณ ปันรักษ์ คาเฟ่ ณ บช.ตชด. (พหลโยธิน)
Grand Opening 25 เมษายน 2565
#punrak_cafe
From village to a cup
พบกับกาแฟ Signature จากเมล็ดกาแฟคุณภาพของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเบญจมะ 1 จ.เชียงใหม่
และเชิญเลือกซื้อสินค้า Farmer Market สินค้า OTOP จากแม่บ้านตำรวจและผลิตภัณฑ์โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ณ ร้านปันรักษ์คาเฟ่ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กทม.
ข้อสั่งการในการ พล.ต.ท.ณัฐ สิงห์อุดม ผบช.ตชด.
แทนใจ - แอปสวัสดิการตำรวจ
๓ พ.ค. ๒๕๖๕ พ.ต.ต.วิเชียร พุทธอินทร์ศร ผบ.ร้อย ตชด.๑๔๕ ได้ทำการสุ่มตรวจ หาสารเสพติดในปัสสาวะ ข้าราชการตำรวจกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔๕ ตามโครงการ ตชด.๑๔๕ สีขาว ปลอดยาเสพติด ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ เพื่อป้องปรามข้าราชการตำรวจในสังกัด ไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือเกี่ยวข้องกับยาเสพติด และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ณ ร้อย ตชด.๑๔๕ ต.เขาน้อย อ.ปราณบุรี จว.ประจวบคีรีขันธ์
๑. หน่วย : มว.ตชด.๑๔๕๓
๒. ภารกิจ :เดินทางไป วัดกำแพงแลง ต.ท่าลาบ อ.เมือง จ.เพชรบุรีเพื่อรับมอบ สิ่งของ และ
ร่วมทำบุญ
๓.วัน/เวลา : ๓๐เม.ย ๒๕๖๕ ห้วง ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
๔. สถานที่ : วัดกำแพงแลง ต.ท่าลาบ อ.เมือง จ.เพชรบุรี
๕. รายละเอียด :ร.ต.ต.สมรรถชัยพันดอน รรท.ผบ.มว.ตชด.๑๔๕๓ มอบหมายให้ ด.ต.ชาคริต อมรโสภณ พร้อมพวกรวม ๔ นาย เดินทางไป วัดกำแพงแลง ต.ท่าลาบ อ.เมือง จ.เพชรบุรี เพื่อร่วมทำบุญและ รับมอบ สิ่งของบริจาค จากพระอธิการศราวุธ สุทธสีโล หลวงพ่อวัดกำแพงแลง
๖) ผลการปฏิบัติ: การปฏิบัติเรียบร้อย
๑. หน่วย : ร้อย ตชด.๑๔๕
๒. ผบ.หน่วย : พ.ต.ต.วิเชียร พุทธอินทร์ศร ผบ.ร้อย ตชด.๑๔๕
๓. ภารกิจ : ติดตั้งเชิงชายและติดตั้งตะแกรงเหล็กรางระบายน้ำ
ณ วัดกำแพงแลง ต.ท่าราบ อ.เมือง จ.เพชรบุรี
๔.วัน/เวลา : ๓๐ เม.ย.๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.
๕. สถานที่ : วัดกำแพงแลง ต.ท่าราบ อ.เมือง จ.เพชรบุรี
๖. รายละเอียด : พ.ต.ต.วิเชียร พุทธอินทร์ศร ผบ.ร้อย ตชด.๑๔๕ มอบหมายให้ ร.ต.ต.สมรรถชัย พันดอน รรท.ผบ.มว.ตชด.๑๔๕๓ นำกำลังพล มว.ตชด.๑๔๕๓ ร่วมกันติดตั้งเชิงชายหลังคาและติดตั้งตะแกรงเหล็กรางระบายน้ำ
ณ วัดกำแพงแลง ต.ท่าราบ อ.เมือง จ.เพชรบุรี
๗.ผลการปฏิบัติ:การพัฒนาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ขอเชิญชวนประชาชนร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๕ ผ่านระบบออนไลน์ ที่เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์ https://wellwishes.royaloffice.th ระหว่างวันที่ ๒๘-๓๐ เมษายน ๒๕๖๕
เมื่อ ๒๘๐๙๐๐ เม.ย. ๒๕๖๕ พ.ต.ต.วิเชียร พุทธอินทร์ศร ผบ.ร้อย ตชด.๑๔๕ เป็นประธานในพิธี โครงการฝึกอบรมเตรียมความพร้อมให้กับกำลังพล ตำรวจตระเวนชายแดนที่ปฏิบัติการตามแนวชายแดน โดยมี ร.ต.อ.วสันต์ เอกอุ่น ผบ.มว.กก.๗ บก.กฝ.บช.ตชด. พร้อมคณะ เป็นผู้ควบคุมการฝึกและให้ความรู้แก่ข้าราชการตำรวจ กองร้อย ตชด.๑๔๕ มีข้าราชการตำรวจร่วมฝึกอบรม จำนวน ๒๐ นาย กองร้อย ตชด.๑๔๕ ต.เขาน้อย อ.ปราณบุรี จว.ประจวบคีรีขันธ์
๒๘ เม.ย.๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ -๑๖.๓๐ น.พ.ต.ต.วิเชียร พุทธอินทร์ศร ผบ.ร้อย ตชด.๑๔๕ ได้เดินทางไปเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบูรณาการแก้ไขปัญหาช้างป่า จว.ปข.และคณะทำงานปฏิบัติการแก้ไขปัญหาช้างป่า อำเภอหัวหิน และอำเภอกุยบุรี ครั้งที่ ๑/๖๕ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหากรณีช้างป่าทำร้ายชาวบ้านทำลายพืชผลทางการเกษตรของเกษตรกร และสนับสนุนแนวทางการบูรณาการในระดับพื้นที่ ในท้องที่ จว.ปข.โดยมี นายคมกริช เจริญพัฒนสมบัติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นประธานฯ และหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมฯ
พัฒนาที่ตั้งหน่วย
๒๘ เม.ย. ๒๕๖๕ ห้วง ๑๒.๓๐- ๑๔.๐๐ น.
สถานที่ : ฐานปฏิบัติการ เนิน ๗๐๐ บ.สวนทุเรียน ต.เขาจ้าว อ.ปราณบุรี จว.ประจวบคีรีขันธ์
รายละเอียด : ร.ต.ต.นเรศ ผิวผุด รอง สว.(ป)ฯรรท.ผบ.มว.ตชด.๑๔๕๒ มอบหมายให้ ส.ต.ต.จตุพร สิงหาปัด ผบ.หมู่ มว.ตชด.๑๔๕๒/ หน.ฐปก. เนิน ๗๐๐ พร้อมด้วยกำลังพลร่วมกันพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์ที่ตั้ง ณ ฐานปฏิบัติการ เนิน ๗๐๐
๒๘ เม.ย. ๒๕๖๕ ห้วง ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น
สถานที่ : จุดตรวจบ้านป่าหมาก หมู่ ๘ ต.ศาลาลัย อ.สามร้อยยอด จว.ประจวบฯ
รายละเอียด : ร.ต.ต.สน เสียงใหญ่ รอง สว.(ป)ฯ รรท.ผบ.มว.ตชด.๑๔๕๑ มอบหมายให้ ส.ต.ท.ขวัญชัย สันป่าแก้ว ผบ.หมู่ มว.ตชด.๑๔๕๑/ หน.จต.ป่าหมาก พร้อมพวกรวม ๓ นาย ร่วมกับ ทหาร ฉก.จงอางศึก,ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านป่าหมาก ร่วมกันตั้งจุดตรวจความมั่นคงแนวชายแดนบูรณาการร่วมเพื่อคัดกรองบุคคลผ่านเข้า-ออกภายในหมู่บ้านซึ่งเป็นการเฝ้าระวังป้องกันการเเพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙,เพื่อเป็นการป้องกันบุคคลต่างด้าวลักลอบเดินทางเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต (การหลบหนีเข้าเมือง), ป้องกันปราบปรามการลักลอบนำเข้ายาเสพติดในพื้นที่แนวชายแดน รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ และการป้องกันตนเองในเบื้องต้น, เพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนตามแนวชายแดน